“ช่วยชาวเขา  ช่วยชาวเรา  ช่วยชาวโลก”
 
 
 
 

พื้นที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์  ที่มา : สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ http://www.thairoyalprojecttour.com/?p=1089

 
 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ การทำไร่เลื่อยลอย การปลูกฝิ่นและการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาไม่เฉพาะในท้องถิ่นแห่งนั้น จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือชาวเขาให้มีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง ส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนฝิ่น พร้อมทั้งถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านการเกษตรแผนใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ของชาวเขาให้ดีขึ้น ตลอดจนป้องกันการบุกรุกทำลายป่าไม้ต้นน้ำลำธาร
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 มูลนิธิโครงการหลวงได้จัดตั้ง “สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์” บนพื้นที่ 150 ไร่ ซึ่งเป็นสถานีวิจัยอีกแห่งหนึ่งของมูลนิธิโครงการหลวง ที่ดำเนินงานด้านวิจัยค้นคว้าข้อมูล เป็นแนวทางที่จะนำเอาผลจากการวิจัยมาส่งเสริมอาชีพเป็นรายได้ของครอบครัวเกษตรกร
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์  มีลักษณะพื้นที่เป็นหุบเขาลาดชัน โดยแนวเขาที่ทอดไปในแนวเขาสันปันน้ำเป็นได้แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองทิศทาง คือทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซึ่งด้านตะวันออกได้ผันน้ำลงสู่แม่น้ำปิง และด้านตะวันตกได้ผันน้ำลงสู่แม่น้ำแจ่ม อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1, 300 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ย 21 องศาเซลเซียส

 
 

   งานพัฒนา  มีศูนย์พัฒนา  ๓๔  แห่ง  นำผลจากการวิจัยไปสู่ราษฎรชาวไทยภูเขา
ใน  ๕  จังหวัด  ได้แก่  เชียงใหม่  เชียงราย  ลำพูน  แม่ฮ่องสอน  และพะเยา  ช่วยพัฒนา
ปัจจัยพื้นฐานและคุณภาพชีวิต  มีกลุ่มงานอารักขาพืชสนับสนุนการไม่ใช้สารเคมี
กำจัดศัตรูพืช  กลุ่มงานพัฒนาและส่งเสริมการผลิต  สนับสนุนเทคโนโลยีการผลิต
ตามความต้องการของตลาดและวางแผนการผลิต  กลุ่มงานพัฒนาการศึกษา  สังคม
 และสาธารณสุข  สนับสนุนการเรียนรู้และสุขภาพอนามัย  และยังมีสถานีส่งเสริม
ปลูกพืชทดแทนฝิ่นเรียกว่าศูนย์พัฒนาโครงการ  ๒๑  ศูนย์
   งานการตลาด  วิจัยหลังการเก็บเกี่ยว  งานขนส่ง  งานคัดบรรจุ  การแปรรูปผลิตภัณฑ์
 และวิจัยการตลาด
   เมื่อวันที่  ๑๗  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๑๘  และวันที่  ๒๑  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๑๙ 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำคณะทูตานุทูตและภริยาที่ประจำอยู่ในประเทศไทย
เยี่ยมชมสถานีเกษตรหลวงอ่างข่าง  และมีพระราชดำรัสเพื่อผู้แทนประเทศต่าง ๆ 
พิจารณาความช่วยเหลือเท่าที่จะกระทำได้  ต่อมาประเทศต่าง ๆ  ได้จัดส่งพันธุ์ไม้
และพันธุ์สัตว์มาเพื่อใช้ประโยชน์ในโครงการฯ  เพิ่มเติมจากที่สาธารณรัฐประชาชนจีน
ได้ช่วยเหลือมาก่อนหน้าแล้ว
     โครงการหลวงมีพัฒนาการสามารถเพิ่มรายได้ทดแทนการปลูกฝิ่นให้แก่ชาวไทยภูเขา
  มีโรงงานอาหารสำเร็จรูปเกิดขึ้น  ๓  แห่ง  คือ  โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่  โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่  และโรงงานหลวง
อาหารสำเร็จรูปที่อำเภอแม่จัน  จังหวัดเชียงราย  มีร้านและผลิตภัณฑ์ตราดอยคำ
 ได้รับรางวัลมาตรฐานสินค้าไทยส่งออกเมื่อพุทธศักราช  ๒๕๓๑  ภายหลังเปลี่ยนชื่อ
เป็นตราโครงการหลวง  และโครงการหลวงยังได้รับรางวัลแมกไซไซ  สาขาความเข้าใจ
ระหว่างประเทศ (International Understanding)  เมื่อพุทธศักราช  ๒๕๓๑  ในฐานะที่
เป็นต้นแบบของการกำจัดพืชเสพติดโดยสันติวิธี  และสามารถทำให้พื้นที่ปลูกพืชเสพติด
 กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทัศนศึกษาแก่ประเทศทั่วโลกที่มีปัญหาใกล้เคียงกัน

 
                                   Next  
           
         HOME       MAIN ความหมาย             ความเป็นมา วัตถุประสงค์มูลนิธิโครงการหลวง

สถานีวิจัยโครงการหลวง